บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิพพานทันตาเห็น [1]


ในหนังสือ “คำถาม คำตอบ: ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 5” ของสุชีพ ปุญญานุภาพ มีผู้ถามคุณสุชีพว่า

นิพพานในปัจจุบันทันตาเห็น มีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่าอย่างไร?

มีพระพุทธวจะเรื่องนี้อย่างไร

คุณสุชีพตอบไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว หน้า 37 – 38  ว่า

นิพพานในปัจจุบันทันตาเห็น มีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่า “ทิฏฐธัมมนิพพาน”  มีพระพุทธวจนะในเรื่องนี้ หลายประการคือ

1) ทรงสอนให้เจริญอนิจจสัญญา คือ ความกำหนดหมายว่า ไม่เที่ยง เพื่อละความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่

ตรัสต่อไปว่า ภิกษุผู้มีความกำหนดหมายว่า ไม่เที่ยง  ย่อมอนัตตสัญญา ความกำหนดหมายว่ามิใช่ตัวตนตั้งมั่น 

ภิกษุผู้มีความกำหนดหมายว่า มิใช่ตัวตน ย่อมบรรลุความถอนขึ้นเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ คือ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่  อันเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทันตาเห็น) (23/205/365-6)

จากพระพุทธวจนะข้อนี้ การถอนอัสมิมานะความถือตัวว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่เสียได้ เป็นนิพพานปัจจุบันทันตาเห็น 

จะถอนความถือตัวเช่นนั้นได้ด้วยการเจริญอนิจจสัญญา ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ซึ่งจะทำให้เกิดอนัตตสัญญา ความกำหนดหมายว่า มิใช่ตัวตนเป็นผลต่อเนื่อง

2. ทรงสอนให้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัดเพื่อดับขันธ์ 5 (ซึ่งย่อเป็นร่างกายจิตใจ หรือรูปนาม) อันชื่อว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นขันธ์ 5 ย่อมควรแก่ถ้อยคำว่า “ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน (ทันตาเห็น)” (17/202/199)

3. ทรงสอนให้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพื่อดับปัจจยาการ (อาการอันเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน มีอวิชชา (ความไม่รู้อริยสัจ 4) สังขาร (เจตนาในการทำดีทำชั่ว) วิญญาณและนามรูป เป็นต้น

จนถึงความเกิดความแก่ความตาย และความทุกข์อื่นๆ ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นปัจจยาการ ย่อมควรแก่ถ้อยคำว่า “ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน (ทันตาเห็น) (16/268/139-140)

4. ทรงสอนมิให้ชื่นชมยินดี ติดอยู่  หรือยึดมั่นถือมั่นอารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ภิกษุผู้ไม่ยืดมั่นถือมั่นย่อมปรินิพพานได้ นี่คือเหตุปัจจัยให้ปรินิพพานได้ในปัจจุบัน (ทันตาเห็น) (18/192/138)

จากหลักฐานที่ค้นมาค่อนข้างละเอียดจากพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้น ก็พอสรุปได้ว่า ถ้าเบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความยึดมั่นในตัวตน ในร่างกายจิตใจ ในการเวียนว่ายตายเกิด ในอารมณ์ หรือสิ่งที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจได้

ก็จะบรรลุพระนิพพานได้ในปัจจุบันทันตาเห็น

จากคำตอบของคุณสุชีพที่มาข้างต้นนั้น  ผมว่าผู้อ่านก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า โดยสรุปแล้ว การที่จะเห็นนิพพานในปัจจุบันนั้นจะทำอย่างไร

คุณสุชีพอธิบายวิธีการเห็นนิพพานปัจจุบันว่า เห็นได้โดยการเจริญอนิจสัญญา ให้คลายกำหนัดเพื่อดับขันธ์  5 ดับปัจจยาการ [อาการอันเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน มีอวิชชา (ความไม่รู้อริยสัจ 4) สังขาร (เจตนาในการทำดีทำชั่ว) วิญญาณและนามรูปเป็นต้น

และ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ การปฏิบัติแบบนั้น จะทำให้เราสามารถบรรลุพระนิพพานได้ในปัจจุบันทันตาเห็น

แต่คุณสุชีพก็อธิบายได้แค่นั้น ซึ่งผู้อ่านก็ไม่รู้จะทำวิธีไหน และก็ไม่อธิบายให้ต่อเนื่องกับหัวข้อธรรมะอื่นๆ เช่น กิเลสร้อยแปดพันเก้านั้นจะหลุดไปจากใจ/จิต/วิญญาณได้อย่างไร

เรื่องนี้ จะไปต่อว่าคุณสุชีพก็ไม่ได้ เพราะ ท่านเป็นพุทธวิชาการ  ท่านไม่ได้เป็นพุทธปฏิบัติธรรม ท่านก็ต้องตอบไปตามที่ท่านรู้และเข้าใจ

ประเด็นในเรื่องนี้ วิชาธรรมกายสามารถอธิบายได้อย่าง ทั้งเห็นทั้งรู้ 

ในทางวิชาธรรมกายนั้น ถ้าเราอยากจะเห็นนิพพานนั้นง่ายมาก คือ ทำวิชา  18 กายให้ได้เท่านั้น 

การที่เห็นนี้ ไม่ใช่การมองเห็นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น เรายืนอยู่บนภูเขา แล้วมองยังมาเมืองเบื้องล่าง ไม่ใช่มองเห็นอย่างนั้น 

แต่กายธรรมของผู้ปฏิบัติจะ "ขึ้น" ไปอยู่บนอายตนะนิพพานเลย  จะเห็นกายธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เต็มไปหมด 

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

อายตนะนิพพานนั้น ทำหน้าดึงดูดธาตุธรรมที่มีความละเอียดเสมอกัน  ในแง่ของวิชาธรรมกาย เมื่อเราปฏิบัติธรรมจนถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด  กายของเราจะมีความละเอียดเท่ากับอายตนะนิพพาน 

ศูนย์นิพพานจึงดูดเอากายของเราขึ้นไปอุบัติอยู่ในนิพพานได้ 

ตอนที่กายธรรมของผู้ปฏิบัติ "ขึ้น" ไปอยู่บนอายตนนิพพานและเห็นนิพพานนั้น กิเลสของผู้ปฏิบัติไม่มีเลย หลุดหมดแล้ว

เป็นการหมดกิเลสชั่วขณะ 

พอเลิกทำวิชชาแล้ว กลับมาเป็นคนเดิม  ถ้าเป็นเด็กๆ ซนเหมือนเดิมแบบทันทีทันใด  ถ้าเป็นผู้ใหญ่อุปนิสัยใจคอจะดีขึ้นเรื่อยๆ ได้ผลมากกว่าเด็กๆ

แต่เด็กๆ ฝึกวิชชานี้เป็นง่ายกว่าผู้ใหญ่  ตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.6  นี่ สอนชั่วโมงเดียวก็เห็นอายตนะนิพพานได้แล้ว

ถ้ามีคำถามว่า การขึ้นไปอยู่ในอายตนะนิพพานอย่างทันตาเห็น เป็นปัจจุบันนั้นของวิชาธรรมกายนั้น ขัดแย้งกับพุทธพจน์ที่คุณสุชีพ ปุญญานุภาพ ยกขึ้นมาอธิบายหรือไม่

ผมขอบอกและยืนยันในทางภาษาศาสตร์ว่า “ไม่ขัดแย้งกัน” 

คุณสุชีพสรุปการบรรลุนิพพานในปัจจุบัน แบบทันตาเห็นไว้ดังนี้

จากหลักฐานที่ค้นมาค่อนข้างละเอียดจากพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้น

ก็พอสรุปได้ว่า ถ้าเบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความยึดมั่นในตัวตน ในร่างกายจิตใจ ในการเวียนว่ายตายเกิด ในอารมณ์ หรือสิ่งที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจได้

ก็จะบรรลุพระนิพพานได้ในปัจจุบันทันตาเห็น

ผู้ปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกาย ที่ผ่านวิชา  18 กายไปแล้ว กิเลสต่างๆ หมดไปแล้ว ไม่เหลืออยู่แม้แต่นิดเดียว

กิเลสต่างๆ มีอยู่ประจำกาย ดังนี้


ท่านผู้อ่านลองพิจารณาชื่อของกิเลสต่างๆ นั้น  พุทธวิชาการก็อธิบายกันมั่วไปหมด ไปรู้ว่าอะไร เป็นอะไร

คู่ที่พุทธวิชาการอธิบายมั่วกันมากก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ กับ ราคะ โทสะ โมหะ

ในทางวิชาธรรมกายอธิบายง่ายมาก  เป็นกิเลสของกายทิพย์กับกายพรหม  แล้วถ้าถามว่า มันแตกต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ กิเลสมันหยาบมันละเอียดกว่ากัน

ในกายที่ละเอียดขึ้น กิเลสก็ละเอียดขึ้นตามไป

ถ้าเราทำวิชาแล้วเราอยู่กับกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ จะไม่มีอยู่ในตัวเราเลย  ถ้าเราทำวิชาถึงกายธรรมพระอรหัต กิเลสต่างๆ หมดไปจากใจ-จิต-วิญญาณของเราโดยสิ้นเชิง

เราก็จะเห็นนิพพานอย่างปัจจุบันทันตาเห็นในชาตินี้  เห็นได้วันละหลายเที่ยวหลายหนด้วย ขึ้นอยู่กับว่า เราขยันทำวิชชาขนาดไหน 

การที่เราทำได้ถึงกายธรรมพระอรหัต และกายขึ้นไปอยู่บนนิพพานตามวิชา นี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว 

แต่ผู้ปฏิบัติสามารถดับกิเลสตัณหาต่างๆ ได้หมดสิ้นชั่วขณะหนึ่ง  จึงเข้าไปรู้ไปเห็นนิพพานได้

เมื่อเลิกปฏิบัติธรรมแล้วก็ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาเหมือนเดิม ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ดวงบารมีจะโตขึ้น

โดยสรุป

วิชาธรรมกายนั้น ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามหลักวิชา จะพบว่า วิชาธรรมกายนั้น สามารถอธิบายพระไตรปิฎกได้อย่างแจ่มแจ้ง แบบรู้เห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องไปสงสัยอะไรอีกแล้ว

ในขณะที่พุทธวิชาการหรือนักปริยัติอธิบายไปตามตำรา ซึ่งไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้แต่อย่างใด

การปฏิบัติธรรมตามแบบวิชาธรรมกายจะให้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธโดยพร้อมเพรียง  ว่าแต่ท่านจะเชื่อหรือไม่ และกล้าทดลองปฏิบัติตามหรือไม่เท่านั้น...



14 ความคิดเห็น:

  1. แต่กายธรรมของผู้ปฏิบัติจะ "ขึ้น" ไปอยู่บนอายตนะนิพพานเลย จะเห็นกายธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เต็มไปหมด มั่วมากครับ ถ้าเข้านิพพานชั่วขณะ คือการหยุด ขันธ์5 แล้วทำไมถึงเห็นถึงรับรู้ถึงปรุงแต่ง เท่ากับมีขันธ์5เหลือครบเลย มีทั้ง รูป เวทนา สัณญา สังขาร วิญญาณ มั่วสุดๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมว่า คุณนั่นแหละ "มั่ว" วิชาธรรมกายก็วิชาธรรมกาย คุณจะเอาความรู้ของคุณ ที่มีแบบกระจอกๆ มาตัดสินวิชาธรรมกายได้อย่างไร

      พระไตรปิฎกมียืนยันเรื่อง การนิพพานชั่วขณะ ลองไปหาอ่านดู

      ลบ
  2. ผมไปถึงมาแล้วครับ คุณเอาความเป็นผู้มีปัญญามาใช้กับธรรม กับพระไตรปิฎก แต่ไม่เคยไปถึง นี้แหละครับ ปัญหาโลกแตกของธรรมกายคือมีผู้มีปัญญามาก แต่ไปไม่ถึงเลยไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ผมยอมรับว่าอ่านทีแรกก็ดีอยู่จนมาถึงท่อนที่ผมบอกนั้นแหละ มั่วสุดๆ คุณน่าจะรู้นะครับว่าจิตไม่เที่ยงจิตเป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตนเมื่อไม่มีสิ่งใดมากระทบก็กิดการหยุด และเมื่อเกิดการหยุด จะมีขันธ์5กลับมาได้อย่างไร ถ้าที่คุณอธิบายเป็นเรื่องจริง ว่าคุณเคยไปถึง ช่วยเล่าตอนขากลับจากภวังค์นิพพานให้ผมฟังที ผู้มีปัญญา ไม่เท่าผู้รู้หรอกครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. บทความนี้ มันผิดอย่างไร ตรงไหน อย่าไปเรื่องอื่น เอาเฉพาะเรื่องเนื้อหาของบทความก่อน

      ลบ
  3. ผิดสองเเรื่องครับ เรื่องแรกคุณเข้าใจธรรมที่หลวงปู่สดใช้เป็นหลักภาวนา ไม่ใช่หมดกิเลสชั่วขณะอยางที่คุณเข้าใจครับ ถ้าหมดกิเลสแล้วเข้าภวังค์นิพพานก็เท่ากับพระอรหันต์ที่ยังมีขันธ์ 5อยู่ไม่ว่าจะทำอะไรท่านก็อยู่ในภวังค์นิพพานสิครับ เรื่องที่สองสิ่งที่หลวงปู่สดท่านทรงสอนคือการหยุดขันธ์5 ทั้งสองวิธีจะจบด้วยการหยุดจิต ถึงจะเข้าภวังค์นิพพานได้ครับ แต่คุณกลับว่าเข้าภวังค์ไปโดยมีขันธ์5ครบได้ไม่ขัดแย้ง เมื่อไม่มีขันธ์5 คุณคงแยกออกนะครับว่ามีอะไรบ้าง ลองคิดด้วยความเป็นผู้มีปัญญาของคุณนะครับถ้าคุณไม่มีผัสสะคือไม่มีความรู้สึกทางกายใดๆทั้งสิ้น ไม่มีความรู้สึกสุขรึทุกข์ ไม่มีความจำความนึกคิดในสิ่งต่างๆที่มีมา นิ่งสงบอยู่กับการเพิ่งดวงจิต และขั้นสองคือไม่มีการปรุงแต่งจิตที่หลวงปู่สดให้มโนจิตขึ้นเป็นรูปร่างหายไปตัดขาดจากอารมณ์ทั้งปวง ก็จะไม่มีสิ่งใดไปกะทบซึ่งวิญญาณ จิตจึงหยุด เป็นบทสรุปทั้งสองวิธีที่หลวงปูสดท่านสอน ภวังค์นิพพานจึงเป็นการขาดจากทุกสรรพสิ่งแม้แต่เวลาและไร้ซึ่งตัวตน แล้วจะแยกออกว่าใครผ่านจริงไม่ผ่านจริงคือคำตอบจากตอนกลับจากภวังค์นี้แหละครับ ผมแค่ไม่เห็นด้วยที่คุณนำคำสอนของหลวงปู่สดมาปรุงแต่งเพิ่มเองด้วยปัญญาของคุณ ในตารางกายธรรมพระอรหันต์ของคุณก็บอกอยู่ว่าไม่มีอะไรแต่ทำไมถึงไม่นิพพานครับ เพราะติดขันธ์5ไงครับ ขอบคุณที่รับฟังครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คุณจะแสดงความโง่ไปถึงไหน

      ผมวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพเรื่อง "นิพพานในปัจจุบันทันตาเห็น มีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่าอย่างไร? มีพระพุทธวจะเรื่องนี้อย่างไร"

      ข้อเขียนของผมมันผิดอย่างไร วิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนของคุณสุชีพไม่ถูกต้องตรงไหน มันต้องว่ากันเรื่องนั้น ที่คุณเขียนมามันนอกประเด็นของบทความ

      คุณยังอ่านบทความไม่เข้าใจ มันก็แสดงความโง่ของคุณอย่างโง่ดักดานจริงๆ

      ลบ
  4. ครับคงจริง ว่าผมอ่านไม่ละเอียด เข้าใจว่าคุณตอบคุณสุชีพว่า เข้าภวังค์นิพพานแล้วก็เห็นพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์สาวก แบบที่คุณสุชีพเล่า ขอโทษทีครับ แต่ผมก็เข้าใจนะครับ ไม่ต่างจากคุณเท่าไหร่ แต่เดินคนละทาง ยอมรับว่าไม่ละเอียดครับ แต่ไม่โง่ดักดานขนาดนั้น กายหยาบกายละเอียด จริงๆก็มีจิตเป็นตัวกำหนด ผมเน้นไปทางนั้นมากกว่าครับขอโทษทีที่ไม่อ่านให้ละเอียด แต่ผมก็ยังมั่นใจอยู่ว่าเข้าภวังค์นิพพานจะไม่มีอายาตนะทั้งภายในและภายนอก เหมือนกายธรรมอื่นๆ ตรงนี้ผมอ่านแล้วไม่เข้าใจรบกวนอธิบายให้ทีนะครับ กายทั้งหมดมีจิตเป็นส่วนประกอบ เมื่อหยุดขันธ์5ชั่วขณะ แล้วทำไมถึงมีอาแล้วทำไมถึงมีอายาตนะครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ที่คุณถามมาอีกครั้งก็ผิด

      1. คุณจะเอาควาามเชื่อที่คุณอ่านมา แล้วไปตัดสินวิชาธรรมกายว่า "ผิด" ไม่ได้ ถ้าคุณจะวิจารณ์วิชาธรรมกายคุณต้องเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎกเท่านั้น

      2. อายตนะภายใน ภายนอกนั้น ในความรู้ที่คุณเชื่อ คุณว่า "เมื่อตกภวังค์" มันจะไม่ทำงาน มันก็เป็นความรู้ของคุณ ในทางวิชาธรรมกายนั้น ไม่มีการ "ตกภวังค์"

      วิชาธรรมกายจะ "เห็น" และ "รู้" ไปพร้อมๆ กัน ระหว่างการสอนนั้น คนสอนกับคนเรียนก็คุยกันได้

      ลบ
    2. ความคิดผมคือคุณนำกายละเอียดขั้นต่างๆมาเปรียบเทียบกับนิพพาน ผมไม่รู้ว่าคุณผ่านมาแบบไหน แต่ในประวัติหลวงปู่มั่นท่านถึงอนาคามีแต่หาหนทางดับทุกข์ ดับกิเลสให้สิ้นไม่ได้ จึงอธิฐารของความเมตตาจากพระพุทธเจ้าผู้ทรงเมตตาให้ชี้นำทางหลุดพ้น แล้วก็ได้มีอรหันต์สาวกมาชีแนะแนวทาง เช่นการเดินจงกลม ผมว่าเป็นแค่การรู้กาลรู้เวลาของพระอรหันต์ได้ใช้อิทธิฤทธิ์ทิ้งจิตข้ามกาลมาสอนผู้มีบุญบารมี เพื่อจะให้ศาสนาคงอยู่มากกว่า ถึงรู้วิธีดับกิเลสแต่ท่านก็ใช่จะทำได้เลยนะครับ เป็นแค่การสันนิษฐานนะครับ ครูบาอาจารย์หลายท่านก็ตั้งจิตอธิฐารเช่นนี้ แม้แต่หลวงปู่สด ลองพิจารณาดูด้วยปัญญาของคุณเองครับ ผมไม่อยากเล่นกับศรัทธา ขอจบครับ

      ลบ
    3. หลวงปู่มั่น ตอนนี้เป็นเทวดาอยู่ที่สวรรค์ชั้น 1 พวกเราใช้วิชาธรรมกายตรวจสอบมาแล้ว

      ท่านบอกว่า "อยากขึ้นสวรรค์ชั้น 2 แต่บารมีไม่ถึง"

      ลบ
  5. ขอโทษทีครับที่ผมไม่ได้ใช่แค่อ่าน แต่ผมบอกว่าผมผ่านมาแล้วครับ คำตอบที่สองของคุณผิดแน่นอนครับ เสียใจด้วยครับ ที่คุณยังไม่เข้าถึงภวังค์นิพพานจริงๆครับ

    ตอบลบ
  6. เถียงไปก็เท่านั้นขนาดพระพุทธเจ้าท่านยังทรงไม่ชีแจ้งเลยว่านิพพานเป็นอย่างไร ส่วนการเถียงเรื่องนิพพานก็มีมาเป็นพันปี แถมทางธรรมกายก็มองว่านิพพานเป็นธรรมขันธ์ คือสรุป ผมผ่านมาแบบอนัตตา ส่วนคุณผมไม่รู้ว่าจริงรึป่าว เพราะไม่เคยผ่านแบบคุณมาก่อน พอดีกว่า เปรียบเหมือนไฟที่ดับแล้วไปไหน ประสบการณ์ต่างกัน ไม่จบแน่เรื่องนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมพยายามจะบอกคุณก็เรื่องนี้แหละ แต่คุณมันโง่เกินจะเข้าใจ ผมบอกมาหลายครั้งว่า "คุณจะเอาความรู้ของคุณมาวิพากษ์วิจารณ์วิชาธรรมกายไม่ได้" ถ้าจะเสวนากัน คุณต้องเอาพระไตรปิฎกมาเป็นหลัก แล้วค่อยมาคุยกันว่า "ของใครน่าจะถูกต้องตามพระไตรปิฎก"

      ในวิชาธรรมกายไม่มีเรื่อง "ภวังค์นิพพาน" วิชาธรรมกายไม่มีการตกภวังค์ไม่ว่าแบบไหน ผมว่าในพระไตรปิฎกก็ไม่มี "ภวังค์นิพพาน" เพราะมันมั่ว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

      ลบ